หน้าแรกผู้จัดการ Online | หน้าแรก Telecom | Telecom
Telecom ข่าวโทรคมนาคม
มะกันเล็งออกกม. เตือนภัยมือถือ 'มะเร็งสมอง'
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 ธันวาคม 2552 11:26 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
สภาร่างกฏหมายรัฐเมน (Maine) ประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังจะทำให้รัฐเมนเป็นพื้นที่แรกที่ออกกฎให้ผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่วางจำหน่ายในรัฐ ต้องติดฉลากเตือนผู้ใช้ว่ามีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งสมอง แม้การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก รวมถึงผู้ผลิตจะยืนยันว่าการใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีผลใดๆก็ตาม
       
       แนวคิดการติดฉลากคำเตือนเรื่องมะเร็งสมองในกล่องโทรศัพท์มือถือถูกเปิดเผยบนเวทีประชุมสภาร่างกฎหมายแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือ National Conference of State Legislators โดยแอนเดรีย โบแลนด์ ส.ส.มลรัฐเมนจากพรรคเดโมแครตระบุว่าจะผลักดันญัตตินี้สู่ที่ประชุมสภาร่างกฎหมายมลรัฐเมนประจำปี 2010 ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนมกราคมนี้
       
       วาระการประชุมเดือนมกราคมนั้นมักจะเป็นช่วงที่ถูกจับจองเพื่อพิจารณาวาระเร่งด่วน การประกาศของส.ส.โบแลนด์จึงเป็นการบอกใบ้ว่าเธอเห็นความสำคัญของเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยยืนยันว่าการศึกษามากมายชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่นายกเทศมนตรีซานฟรานซิสโก แกวิน นิวสัน กำลังพยายามผลักดันให้ซานฟรานซิสโกเป็นเมืองแรกที่ออกกฎให้กล่องโทรศัพท์มือถือต้องติดฉลากเตือนมะเร็งเช่นกัน
       
       เชื่อว่าส.ส.โบแลนด์นั้นต้องการผลักดันให้ชาวมลรัฐเมนใช้ชุดเฮดเซตแทนการเอาโทรศัพท์มือถือแนบหู เพื่อลดความเสี่ยงในการดึงคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือเข้าสู่ร่างกาย
       

       เงื่อนไขในญัตติของส.ส.โบแลนด์คือการกำหนดให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือติดฉลากคำเตือนลงในโทรศัพท์มือถือและบรรจุภัณฑ์ เนื้อความฉลากบรรยายความเป็นไปได้ในการเกิดโรคมะเร็งสมองจากคลื่นไฟฟ้า คำเตือนจะทำให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงก่อนหาทางป้องกันตนเอง โดยเฉพาะในเด็กและสตรีมีครรภ์ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวต่อการระวังไม่ให้โทรศัพท์มือถืออยู่ใกล้ร่างกาย
       
       สิ่งที่เกิดขึ้นขัดแย้งกับคณะกรรมการการค้าแห่งชาติสหรัฐฯหรือเอฟซีซี (Federal Communications Commission) ซึ่งการันตีแล้วว่า โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่จำหน่ายในสหรัฐฯนั้นมีความปลอดภัย เนื่องจากเอฟซีซีได้กำหนดมาตรฐานระดับการดูดกลืนคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือในระยะปลอดภัยแล้ว ทำให้เอฟซีซียืนยันว่า ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องพิมพ์คำเตือนแจ้งผู้บริโภคซ้ำอีก
       
       จุดนี้ ญัตติของสภาร่างกฏหมายซานฟรานซิสโกถึงกับกำหนดให้ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ จัดพิมพ์ตัวเลขอัตราการดูดกลืนรังสี (absorption rate) ไว้ข้างกล่อง ในขนาดตัวอักษรใหญ่เท่ากับขนาดตัวอักษรบอกราคา อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวถือเป็นข้อแตกต่างจากสภาร่างกฏหมายรัฐเมน เนื่องจากฝ่ายหลังไม่มีการระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราการดูดกลืนรังสี แต่ระบุให้ฉลากคำเตือนมีภาพสมองของเยาวชนประกอบในคำเตือน
       
       อย่างไรก็ตาม ญัตติคำเตือนภัยสุขภาพบนกล่องโทรศัพท์มือถือยังต้องผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจากหลายฝ่าย ทั้งภาควิชาการ ภาคธุรกิจ และภาคราชการของสหรัฐฯ ซึ่งต้องร่วมกันศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา และหากรัฐเมนผ่านร่างกฏหมายนี้อย่างเป็นทางการ ก็ไม่ได้แปลว่ามลรัฐอื่นๆในสหรัฐฯจะดำเนินการตาม
       
       ส.ส.โบแลนด์ระบุว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งสิ้น 950,000 คนจากประชากรรวม 1.3 ล้านคนของรัฐเมนนั้นไม่มีความรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยขณะนี้ สหรัฐฯมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งสิ้น 270 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 110 ล้านคนในปี 2000

ข่าวล่าสุด ในหมวด
3 แผนเด็ดเอไอเอสรับมือปีใหม่
มะกันเล็งออกกม. เตือนภัยมือถือ 'มะเร็งสมอง'
โอทูผงาด ซื้อบริษัทโทรศัพท์ผ่านเน็ต
"BlackBerry" ขายกระหึ่ม กำไรกระฉูด
อหังการได้อีก ไอโฟนกินส่วนแบ่งสมาร์ทโฟนปลาดิบ 46%
5 อันดับข่าวยอดนิยมของหมวด
Review : Nokia E72 "QWERTY" โฟนที่รอคอย
ไอโฟนแซงหน้าวินโดวส์โมบายล์
10 ภัยร้ายออนไลน์ที่ต้องระวังช่วงเทศกาลวันหยุด
Review : VoyagerPRO-Discovery975 "ไม่เสียชื่อ Plantronics"
idphoto4you l ทำภาพติดบัตร ด่วน!ภายใน 5 วินาที
เครื่องมือจัดการเว็บ
ส่งบทความนี้ต่อ
พิมพ์หน้านี้
ข่าวที่มีผู้ส่งมากที่สุด
แสดงความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ด
แบ่งปันให้เพื่อน
จำนวนคนอ่าน 1631 คน จำนวนคนโหวต 5 คน
คุณเห็นด้วยกับข่าว/บทความนี้หรือไม่
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
เห็นด้วย 5 คน
100 %
ยังไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย
0 %
ความคิดเห็นที่ 3 คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
...นี่เลย...บางคนวางไว้ใต้หมอนเลย...ตื่นมาโง่พอดี...
มงคล
ความคิดเห็นที่ 2 คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
สส ไทยไม่รู้ว่าตนเองมีหน้าที่ออก แก้ไขกฎหมาย ทำอยู่เเค่ใส่ปลอกคอเเละ ป๊อก ๆ เเละบ้างก็รับใช้ทุนสามานย์นอกในหรือโจรข้างบ้าน เเละคอยโยนเศษเงินให้เศษมนุษย์
ความคิดเห็นที่ 1 +1 คลิกที่นี่หากท่านสนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านไม่สนับสนุนความเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านต้องการตอบกลับความคิดเห็นนี้ คลิกที่นี่หากท่านเห็นว่าความคิดเห็นนี้ขัดต่อกฎ กติกา มารยาท
เห็นส.ส. และนักการเมืองชาติตะวันตกเค้าทำงานแล้ว อดอิจฉาไม่ได้จริง แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ชอบพวกฝรั่งเลยก็ตาม แต่เห็นนักการเมืองเค้าแล้วยังอดชื่นชมไม่ได้
ย้อนมองดูส.ส.บ้านเราดิ่
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น
1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. ทีมงานเว็บมาสเตอร์ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น
4. เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้ ทางผู้จัดการออนไลน์ได้ปรับปรุงระบบการกรองคำให้เข้มงวดยิ่งขึ้น กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้ ทางผู้จัดการออนไลน์ได้ปรับปรุงระบบการกรองคำให้เข้มงวดยิ่งขึ้น กรุณารอสักครู่ ก่อนที่ความคิดเห็นของท่านจะถูกนำขึ้นแสดง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
เลือกรูปภาพแสดงอารมณ์
ชื่อ/e-mail ของคุณ : *
 
 *
คุณสามารถใช้รูปภาพแสดงอารมณ์ (Emoticons) เมื่อเข้าสู่ระบบสมาชิกผู้จัดการออนไลน์แล้ว
คลิกที่นี่ เพื่อเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิก
 
 
หนังสือพิมพ์: ASTV ผู้จัดการออนไลน์ | ASTV ผู้จัดการรายวัน | ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ | นิตยสารผู้จัดการ 360° | Positioning | ASTV News1
มุม: การเมือง | อาชญากรรม | คุณภาพชีวิต | ภูมิภาค | ต่างประเทศ | มุมจีน | ธุรกิจ | หุ้น | SMEs | Motoring
CyberBiz | วิทยาศาสตร์ | เกม | กีฬา | บันเทิง | Life on Campus | Metro Life | ท่องเที่ยว | ธรรมะกับชีวิต | Multimedia
เว็บ: Asia Times | บุรพัฒน์ คอมมิคส์ | Public Law | Mars Magazine | ThaidayEvent | ทะเลไทย | คุยกับเว็บมาสเตอร์ | โฆษณาบนเว็บ
All site contents copyright ©1999-2009